วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ของดีเมืองลำปาง

ของดีเมืองลำปาง 
ใครผ่านทางต้องซื้อหา 
เป็นของฝากหลากสินค้า 
เพื่อรักษาหัตถศิลป์ถิ่นลำปาง
      จังหวัดลำปางตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านเกษตรกรรม โดยการปลูกข้าวเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นข้าพันธุ์ดีมีคุณภาพ ใช้บริโภคและส่งขาย เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ด้วยเหตุนี้ได้มีกลุ่มแม่บ้านได้คิดผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปอาหารจากข้าวมาทำเป็นอาหารหลากหลายรูปแบบ และได้มีการพัฒนาให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปจากข้าวที่ขึ้นชื่อและเป็นที่ยอมรับคือ ข้าวแต๋น ซึ่งมีรสชาติอร่อยถูกปาก คลุกเคล้าด้วยน้ำตาลและน้ำแตงโม มีกลิ่นหอม หวาน ข้าวแต๋นจะมีการดัดแปลงรูปแบบแตกต่างกัน เช่น ทำเป็นรูปทรงกลม รูปหัวใจ ทำให้สะดุดตา ชวนรับประทาน และมีการบรรจุหีบห่อที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยผ่านวิธีการผลิตที่สะอาดและถูกหลักอนามัย 
      ชาวลำปางยินดีที่จะให้ท่านได้ลิ้มลองของอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ และที่สำคัญราคาถูก สะดวกต่อการพกพาและการให้เป็นของฝากแก่บุคคลที่ท่านรัก 


ข้าวแต๋นรสชาติอร่อย ถูกปากถูกใจ




      
นอกจากข้าวแต๋นที่เลื่องชื่อลือนามของจังหวัดลำปางแล้ว จังหวัดลำปางก็เป็นแหล่งแร่ดินขาวที่ดีกระจายอยู่กันในหลายอำเภอ เช่นที่อำเภอแม่ทะ อำเภอสบปราบ อำเภอแจ้ห่ม เป็นต้น แร่ดินขาวมีลักษณะพิเศษสามารถนำมาเผาไฟและมีความแข็งแรง ทนทานมาก เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในการทำเซรามิก ซึ่งนับว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักคู่เมืองลำปาง โดยการนำมาทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นรูปแบบต่าง ๆ 
      
นอกจากแร่ดินขาวแล้วยังมีแร่บอลเคลย์ ซึ่งเป็นแร่ดินชนิดหนึ่งที่มีความเหนียวสูง นำมาผสมกับดินขาว เหมาะในการทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีแหล่งผลิตที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่ทะ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้น และเซรามิกที่มีคุณภาพจะมีเนื้อสีขาว มีความแกร่ง มีรูปแบบที่สวยงาม ผลิตภัณฑ์ เช่นแจกันดอกไม้ กระถางดอกไม้ สัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาตกแต่งบ้านและสวนให้ดูน่าอยู่ยิ่งขึ้น 


เซรามิกรูปสัตว์ต่าง ๆ




การนำเซรามิกมาตกแต่งบ้านและสวนเพิ่มความสวยงาม

ของกินและของกำนัล 
      
ของกินที่ขึ้นชื่อของเมืองลำปาง นอกจากข้าวแต๋นแล้ว ก็ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีรสชาติอร่อย ถูกหลักอนามัย ราคาย่อมเยา เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเนื้อหมู ได้แก่ หมูย แหนม หมูฝอย ไส้อั่ว แคบหมู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ เช่น ถั่วสมุนไพร ข้าวตังหน้าหมูหยอง ข้าวเม่าทรงเครื่อง น้ำสมุนไพร ซึ่งอาหารเหล่านี้ถ้าได้ลองลิ่มชิมรสแล้วก็จะติดใจ ถ้าซื้อไปเป็นของฝาก ของกำนัล ก็จะถูกปากถูกใจผู้รับเป็นอย่างยิ่ง 



ของกินและของฝากมากมาย เช่น หมูยอ แหนม เป็นต้น


นอกจากผลิตภัณฑ์ที่จะนำเป็นของฝากของกำนัล ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็ยังมีงาแกะสลักที่มีชื่อเสียง เป็นงานหัตถศิลป์ที่แกะสลักเป็นรูปแบบต่าง ๆ และการนำหวายมาดัดแปลงผสมผสานกับงานแกะสลักไม้ได้อย่างกลมกลืน จึงมีผลิตภัณฑ์หลายแบบที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เพราะผลิตภัณฑ์มีความประณีต คงทน สวยงาม มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่นผลิตภัณฑ์แกะสลักจากหมู่บ้านบ้านหลุก อำเภอแม่ทะ เป็นแหล่งผลิตงานแกะสลักและงานสานที่มีชื่อเสียง ซึ่งทำให้งานหัตถศิลป์มีคุณค่ามากขึ้น และเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปตราบเท่าทุกวันนี้ 
      
ท้ายนี้จึงขอเชิญชวนให้ทุก ๆ ท่าน ได้มาเยือนจังหวัดลำปาง สัมผัสกับของดีเมืองลำปางแล้วท่านจะไม่ผิดหวัง 
      
 



ผลิตภัณฑ์งานหัตถศิลป์



สถานที่ท่องเที่ยว


อุทยานแห่งชาติดอยจง มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทางทิศตะวันตดเฉียงใต้มีเทือกเขาขนาดใหญ่เล็กหลายลูกสลับซับซ้อนกัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ระหว่าง 270 – 1300 เมตร เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดลำห้วยหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำวังซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญของจังหวัดลำปางและยังเป็นแหล่งต้นน้ำสำหรับอ่างเก็บน้ำหลายแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำแม่ปราบอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปู อ่างเก็บน้ำแม่ยอง อ่างเก็บน้ำแม่ทาย อ่างเก็บน้ำแม่กาดอ่างเก็บน้ำแม่อาบฯ โดยน้ำจากอ่างเก็บน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำวังเป็นประโยชน์ทางการเกษตรในอำเภอสบปราบ อำเภอเถินและอำเภอแม่พริกจังหวัดลำปาง
การเดินทาง 
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง การเดินทางเริ่มจาก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธินลงไปทางใต้ประมาณ 54 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอสบปราบ ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนกรมโยธาธิการสายบ้านหล่าย บ้านแก่น เมื่อถึงบ้านนาไม้แดงจากถนนพหลโยธิน ประมาณ 8 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติดอยจง รวมระยะทางจากอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจงประมาณ 68 กิโลเมตร

สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหิน มีแร่รัตนชาติ สังกะสี หินแกรนิต หินอ่อน อยู่โดยทั่วไป

ลักษณะภูมิอากาศ
ในพื้นที่ระดับต่ำตามเชิงเขามีสภาพอากาศใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคเหนือ มีอุณหภูมิต่ำสุด 9.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 43.1 องศาเซลเซียส ส่วนสภาพอากาศบนยอดเขาอุณหภูมิแตกต่างจากอากาศในพื้นที่ราบ มีอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 4 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยวัดได้ 893.6 มิลลิเมตรต่อปี

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่า ประกอบด้วยป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา

สัตว์ป่า มีสัตว์ป่าที่พบหลายชนิด เช่น หมีควาย เก้ง สิงชนิดต่างๆ หมูป่า กระแต กระรอก พังพอน อีเห็น นกชนิดต่างๆ งูชนิดต่างๆ เป็นต้น

จุดเด่นที่น่าสนใจ
แหล่งท่องเที่ยวบนยอดดอยจง โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาต่างๆ ใช้เส้นทางเดินเท้าเพียงอย่างเดียวจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ถึงบริเวณยอดดอยจง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า และจุดชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นได้ สวยงามมาก น่าประทับใจ มองเห็นทัศนียภาพรอบด้านได้ 360 องศา
·  เป็นจุดชมวิวมองเห็นบริเวณป่าของพื้นที่ มีเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนลดหลั่นกันมากมาย
·  จุดที่สูง 1,339 เมตร จากระดับน้ำทะเลจะมีอากาศหนาวเย็นสบายตลอดทั้งปี
·  บริเวณยอดเขามีกล้วยไม้ชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมากให้ได้ชม โดยเฉพาะกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยจะมีสีสวยงามมาก แปลกกว่าที่อื่นๆ จะออกดอกในระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี
·  อ่างเก็บน้ำต่างๆ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ตั้งอยู่โดยรอบเขตอุทยานแห่งชาติ มีทัศนียภาพสวยงามเป็นอ่างเก็บน้ำแม่ทาย อ่างเก็บน้ำแม่ยอง อ่างเก็บน้ำแม่อาบ




ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย และ สวนป่าทุ่งเกวียน
ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล  อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย
          ออป.จึงได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 และจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ได้แก่ การแสดงของช้างในวันธรรมดา มี 2 รอบ เวลา 10.00 น. และ 11.00 น. สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพิ่มรอบ 13.30 น. มีการอาบน้ำช้างก่อนเวลาการแสดง เวลา 09.45 น. สำหรับวันธรรมดา และเวลา 13.15 น. ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีบริการนั่งช้างรอบบริเวณซึ่งเป็นสวนป่า บริการอาหารเครื่องดื่มและร้านขายของที่ระลึก ค่าเข้าชมสำหรับ ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ส่วนช้างแท็กซี่ หรือบริการนั่งช้างชมธรรมชาติรอบ ๆ ศูนย์ฯ มีทุกวัน เวลา 08.00-15.30 น. นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการได้หลายเส้นทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5424 7871, 0 5424 7874 (โรงพยาบาลช้าง)

          ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ประเภทรางวัลดีเด่นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พ.ศ.2541 ปัจจุบันศูนย์ฯ มีโครงการโรงเรียนฝึกควาญช้าง เพื่อฝึกควาญหรือผู้ที่ประสงค์จะเป็นควาญให้สามารถดูแลช้างได้อย่างถูกต้อง มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมาสมัครเป็นนักเรียนหลายคน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.  08 6919 1892, 08 7201 9935  และมีกิจกรรม โฮมสเตย์ (Homestay) ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันระหว่างช้างกับคนเลี้ยงช้างอย่างใกล้ชิด เป็นรายการ 3 วัน 2 คืน คนละ 8,000 บาท  2 วัน 1 คืน คนละ 5,500 บาท (ครั้งละไม่เกิน 18 คน)  โดยรวมค่าอาหาร (ประกอบอาหารได้) ที่พัก บ้านพักโฮมสเตย์มีทั้งหมด 3 หลัง พักได้หลังละ 3 คน ราคา 500 บาท รายละเอียดกิจกรรมต่างๆ สอบถามได้ที่ โทร. 0 5424 7875, 08 9264 1091  และที่พักแบบรีสอร์ท ช้างไทยรีสอร์ท  มี 20 ห้อง พักได้ 2-5 คน ราคา 1,000-1,500 บาท (นักท่องเที่ยวควรติดต่อก่อนเข้าพัก 1อาทิตย์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5424 7871, 08 4612 1678 และผู้ประสงค์บริจาคเงินช่วยเหลือช้างไทย ติดต่อได้ที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ โทร. 0 5424 7876หรือ 
http://www.thailandelephant.org               
        นอกจากเรื่องท่องเที่ยวแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ พลังงานที่ใช้ภายในศูนย์ฯ มาจากพลังงานทดแทนในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ มีก๊าซชีวภาพจากมูลช้างใช้ในการหุงต้ม และกระแสไฟฟ้าผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์ 
        ในบริเวณใกล้กันมี  สวนป่าทุ่งเกวียน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวลำปาง มีป่าสนเมืองหนาว เป็นสน 3 ใบ และพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ดอก ไม้ใบที่มีสีสันสวยงาม อีกทั้งไม้จำพวกตะบองเพชร ปาล์ม และสวนพันธุ์ไม้ 76 จังหวัด ตลอดจนพืชสมุนไพรต่าง ๆ นักท่องเที่ยวสามารถแค้มปิ้งที่นี่ได้ โดยนักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์มาเอง หรือจะพักบ้านพัก มีจำนวน 2 หลัง ราคา 350-400 บาท  ช่วงที่สวยที่สุดเหมาะแก่การพักแรมคือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกบัวตองกำลังบาน เนื่องจากจังหวัดลำปางมีพื้นที่เป็นแอ่งกะทะจึงมีอากาศที่ร้อนกว่าแม่ฮ่องสอน ดอกบัวตองที่ลำปางจึงบานเร็วกว่าที่ดอยแม่อูคอประมาณ 15 วัน ประมาณเดือนตุลาคมมีการจัดกิจกรรมทุ่งเกวียนเมาเท่นไบค์  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08 1885 3697 

       ภายในบริเวณสวนป่าทุ่งเกวียนยังมี สวนสัตว์เปิด  นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับสัตว์อย่างใกล้ชิด เช่น เก้ง กวาง เนื้อทราย นกยูง เป็นต้น  และทางสวนป่าทุ่งเกวียนยังมีพันธุ์ไม้ที่หายากไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วย

        การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองลำปาง 24 กิโลเมตร ริมทางหลวงหมายเลข 11 (สายลำปาง-ลำพูน) บริเวณกิโลเมตรที่ 28-29 หากโดยสารรถประจำทาง ขึ้นรถที่จะไปเชียงใหม่จากสถานีขนส่งลำปาง มาลงที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย




น้ำตกวังแก้ว
น้ำตกวังแก้วน้ำตกวังแก้วเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในอุทยานแห่งชาติดอยหลวงซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ และครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพะเยาเชียงรายและลำปาง รวมเนื้อที่ประมาณ ๑,๑๗๐ ตารางกิโลเมตรสภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรังปะปนกัน มีสัตว์ป่าและนกหลายชนิดที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่บริเวณน้ำตกปูแกง อ.พาน จ.พะเยา
น้ำตกวังแก้ว เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดของจังหวัดลำปาง มีชั้นน้ำตกประมาณ ๑๑๐ ชั้น แต่เป็นชั้นใหญ่ ๗-๘ ชั้น เมื่อขึ้นไปถึงชั้นบนสุดของน้ำตกจะพบหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้าที่บ้านป่าคาหลวง และบ้านส้านซึ่งมีทางขึ้นค่อนข้างชัน ที่น้ำตกวังแก้วยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ๑.๔ กิโลเมตร นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมี น้ำตกวังทอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำตกวังแก้ว
ค่าธรรมเนียมเข้าชม เด็ก ๑๐ บาท ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท  สามารถกางเต็นท์ได้แต่ต้องเตรียมเสบียงไปเอง
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายลำปาง-แจ้ห่ม-วังเหนือ ระยะทางประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร มีทางเข้าสู่น้ำตกทั้งสองข้างที่ว่าการอำเภอวังเหนือ จากปากทางเข้าสู่น้ำตกวังแก้วเป็นระยะทางประมาณ ๒๔ กิโลเมตร สภาพถนนเป็นทางลาดยาง ส่วนทางเข้าน้ำตกวังทองจากปากทางใหญ่ที่เข้ามาจะถึงก่อนน้ำตกวังแก้วประมาณ ๙ กิโลเมตร แต่เส้นทางที่เข้าไปค่อนข้างลำบากเพราะเป็นถนนลูกรัง หากเดินทางโดยรถประจำทางสามารถโดยสารรถสองแถวสีฟ้าสายลำปาง-วังเหนือมาลงหน้าที่ว่าการอำเภอและต้องเช่ารถต่อเข้าไปยังน้ำตก




แม่เมาะ
เหมืองลิกไนต์  อยู่ในเขตอำเภอแม่เมาะ ไปตามถนนสายลำปาง-เด่นชัย(แพร่) เป็นระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร จากนั้นแยกซ้ายเข้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นระยะทางประมาณ ๒๖ กิโลเมตรสามารถเช่ารถสองแถวซึ่งจอดอยู่บริเวณตลาดบริบูรณ์ในตัวเมือง ใช้เวลาเดินทางประมาณ๓๐ นาที

ลิกไนต์ เป็นถ่านหินประเภทหนึ่งที่มีการค้นพบในบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ มีปริมาณถึง ๖๓๐ ล้านตัน และมีอายุประมาณ ๔๐ ล้านปี พื้นที่เหมืองทั้งหมดเป็นของกรมป่าไม้ มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ ไร่ สามารถใช้ได้อีกประมาณ ๕๐ ปี บริเวณเหมืองมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินชนิดนี้เป็นเชื้อเพลิงตั้งอยู่หลายโรง ถึงแม้นักท่องเที่ยวจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงไปบริเวณขุดเจาะถ่านหินเพราะมีอันตรายจากวัตถุระเบิดที่ใช้ทำเหมือง แต่กฟผ.ได้จัดทำจุดชมวิวสำหรับนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นสวนหย่อม ตกแต่งปลูกไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ ณ จุดนี้ ซึ่งสามารถมองเห็นการทำงานของรถขุดตักแร่ซึ่งอยู่ห่างออกไปเบื้องล่างได้เป็นมุมกว้าง

สภาพทางเศรษฐกิจ

สภาพทางเศรษฐกิจ

1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

สภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดลำปางในปี 2551 มีผลิตภัณฑ์มวล 47,535 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับสาขาการค้าส่งและค้าปลีกมากที่สุดถึงร้อยละ 18.55 คิดเป็นมูลค่า 9,001 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาการอุตสาหกรรม และสาขาการศึกษา ตามลำดับ

(
ที่มา : สนง.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
2. รายได้ประชากร
ในปี 2549 ประชากรจังหวัดลำปางมีรายได้เฉลี่ย 58,210 บาท/คน/ปี จัดอยู่ในอันดับ 11 ของภาคเหนือ และอันดับ 51 ของประเทศ
กราฟแสดงรายได้เฉลี่ยของประชาชนจังหวัดลำปาง ปี 2542 - 2551
(ที่มา : สนง.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

3. การเงินและการคลัง

3.1 การเงินการธนาคาร

ปัจจุบันมีสาขาธนาคารพาณิชย์ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง จำนวน 68 สาขา โดยมีปริมาณเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในจังหวัด ห้วงตั้งแต่ปี 2545 – 2552 ดังนี้
รายการ
2545
2546
2547
2548
2549
2550
2551
2552
ปริมาณเงินฝาก
ปริมาณเงินให้กู้ยืม
19,146
9 ,757
19 , 513
10,513
30,343
25,411
31,980
29,496
33,624
32,004
35,958
32,387
38,362
35,924
41,971
38,301
3.2   การคลัง รายได้
    ปี 2552 จังหวัดลำปางมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากร เป็นเงิน 1,455.856 ล้านบาท ลดลงจากปี 2551 จำนวน 31.26 ล้านบาท โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีนิติบุคคล

(
ที่มา : สำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง)


    
ปี 2552 มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต รวมทั้งสิ้น 297,598,517.75 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ได้มาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมัน ตามรายละเอียดดังนี้
    1.
ภาษีสุรา                       จำนวน    43,428,797.00   บาท
    2.
ภาษีเครื่องดื่ม              จำนวน    48,164,282.68   บาท
    3. ภาษีน้ำมัน                   จำนวน   201,279532.66   บาท
    4. ภาษีรถจักรยานยนต์    จำนวน         264,789.00   บาท
    5.
ภาษีสถานบริการ          จำนวน         988,935.51   บาท 
    6.
เบ็ดเตล็ด                     จำนวน      3,427,679.90   บาท
(ที่มา : สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ลำปาง ข้อมูล : 1 ตุลาคม 2551-30 กันยายน 2552)

งบประมาณของจังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2552
(
ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2552) 
หน่วย : ล้านบาท
รายการ
งบประมาณ
เบิกจ่าย
ร้อยละ
คงเหลือ
งบประมาณรวม
11,000.21
10,290.11
93.54
710.10
งบประจำ
- ส่วนภูมิภาค
- ส่วนกลาง
- ส่วนท้องถิ่น

งบลงทุน 
- ส่วนภูมิภาค
- ส่วนกลาง
- ส่วนท้องถิ่น
6,284.29
1,474.46
4,569.72
240.11

4,014.07
333.00
1,921.76
1,759.31
6,268.79 
1,472.27
4,556.41
240.11
 

3,475.36
252.34
1,656.45
1,566.57
99.75
99.85
99.71
100.00

86.58
75.78
86.19
89.04
15.50 
2.19
13.31
-

538.71
 
80.66
265.31
192.74
งบกลาง
701.85
545.96
77.79
155.89
4. การจ้างงาน 
4•1  สถานประกอบการในจังหวัดลำปาง
รายการ
จำนวน
หมายเหตุ
ปี 2549
ปี 2550
ปี 2551
ปี 2552
- จำนวนสถานประกอบการ
(แห่ง)
- จำนวนลูกจ้างทั้งหมด (คน)
3,235

51,650
3,264 

52,340
3,425 

59,952
3,610

55,869
เพิ่มร้อยละ 5.13 

เพิ่มร้อยละ 7.31

แผนภูมิแสดงจำนวนสถานประกอบการ ปี 2545 – 2552
แผนภูมิแสดงจำนวนลูกจ้าง ปี 2545 – 2552 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2553)


สภาพการเมืองและการปกครอง

สภาพการเมืองและการปกครอง
1. การปกครอง
จังหวัดลำปางแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 100 ตำบล 929 หมู่บ้าน 101 ชุมชน (เฉพาะชุมชนในเขตเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร)  1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด   1 เทศบาลนคร     1 เทศบาลเมือง     37 เทศบาลตำบล     64 องค์การบริหารส่วนตำบล
2. การบริหารราชการ ส่วนราชการในจังหวัดลำปาง แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ
ประเภท
จำนวน (หน่วย)
หมายเหตุ
- ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
- ราชการบริหารส่วนกลาง
- ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
- หน่วยงานอิสระ
32
69
104
25
-
-
อบจ.1 แห่ง   เทศบาล 39 แห่ง
อบต. 64 แห่ง
-

สภาพทั่วไปจังหวัด ลำปาง

สภาพทั่วไป 

1. ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน ประมาณ 602 กม. ตามทางรถไฟประมาณ 625 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 12,533.961 ตร.กม. หรือประมาณ 7,833,726 ไร่ มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของภาคเหนือ รองจากเชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดข้างเคียงถึง 7 จังหวัด ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดแพร่ และสุโขทัย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดลำพูน 

2.
สภาพภูมิประเทศ
จังหวัดลำปาง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 268.80 เมตร พื้นที่มีลักษณะเป็นรูปยาวรี ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาสูงอยู่ทั่วไป ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือไปทางทิศใต้ของจังหวัด และในบริเวณตอนกลางของจังหวัดบางส่วนมีที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และตามลักษณะทางกายภาพทางด้านธรณีสัณฐานวิทยา จังหวัดลำปางมีพื้นที่เป็นที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีลักษณะเป็นแอ่งแผ่นดินที่ยาวและกว้างที่สุดในภาคเหนือ เรียกว่า อ่างลำปาง ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 
บริเวณตอนบนของจังหวัด เป็นที่ราบสูง ภูเขา และเป็นป่าค่อนข้างทึบ อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้มีค่า ได้แก่ พื้นที่อำเภอเมืองปาน แจ้ห่ม วังเหนือ และงาว
บริเวณตอนกลางของจังหวัด เป็นที่ราบและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่อำเภอห้างฉัตร เมืองลำปาง เกาะคา แม่ทะ และสบปราบ
บริเวณตอนใต้ของจังหวัด เป็นป่าไม้รัง บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้แก่ พื้นที่อำเภอเถิน แม่พริก บางส่วนของอำเภอเสริมงาม และแม่ทะ
3. สภาพภูมิอากาศ
    จากลักษณะพื้นที่ของจังหวัดที่เป็นแอ่งคล้ายก้นกะทะ จึงทาให้อากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี ฤดูร้อนร้อนจัด และหนาวจัดในฤดูหนาว ปี 2552 มีอุณหภูมิสูงสุด 42.30 องศาเซลเซียส ต่าสุด 13.0 องศาเซลเซียส ปริมาณน้าฝนวัดได้ 977 มิลลิเมตร ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มประมาณต้นเดือน มีนาคม จนถึงกลางเดือน พฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าว ช่วง 
ที่มีอากาศร้อนที่สุด คือ เดือนเมษายน
ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือน พฤษภาคม
ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือน พฤศจิกายน จนถึงเดือน กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็น 
ช่วงที่มีอากาศหนาวจัด คือ เดือนมกราคม
4. ประชากร
     ปี 2553 จังหวัดลาปางมีประชากร จานวน 763,801 คน เป็นชาย 376,414 คน หญิง 387,387 คน อาเภอที่มีประชากรมากที่สุดได้แก่ อาเภอเมืองลำปาง รองลงไป คือ อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ และ อำเภอเถิน
(
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553)
   
5. ทรัพยากรธรรมชาติ
     จังหวัดลำปาง มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรแร่ธาตุ
             ทรัพยากรป่าไม้     จังหวัดลาปางมีเนื้อที่ป่าไม้ตามกฎกระทรวงที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 79 ก ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 จานวน 33 ป่า เนื้อที่ 5,302,474 ไร่
ประเภท
จำนวน (แห่ง)
- ป่าสงวนแห่งชาติ
- อุทยานแห่งชาติ 

(
เตรียมการ)
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
33 ป่า
5 แห่ง
2 แห่ง
1 แห่ง
ทรัพยากรแร่ธาตุ      มีหลายชนิดล้วนเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในทางอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ประกอบด้วยถ่านหินลิกไนต์ ดินขาว หินอ่อน หินแกรนิต บอลเคย์ไลท์ พลวงและวุลแฟรม 
ประเภทแร่ธาตุ
ปริมาณสำรอง (ล้านตัน)
ระยะเวลาการขุดใช้ (ปี)
•  ถ่านหินลิกไนต์
•  แร่ดินขาว
หินปูน
1,544
107
320
50
147
53